วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่10 ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

บทที่ 10




บทที่10

ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

   เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

องค์ประกอบของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ  : มี3ประการ

1.ความลับ(Confidentiality) คือ การรับรองว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ และผู้มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

2.ความถูกต้องสมบูรณ์(Integrity) คือ มาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศต้องมีกลไกการตรวจสอบสิทธิ์

3.ความพร้อมใช้งาน(Availability) คือ การทำให้สารสนเทศสามารถตอบสนองระบบได้เมื่อต้องการ
ภัยคุกคาม คือ สาเหตุของสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบคอมพิวเตอร์และเป็นอุปสรรคในการให้บริการ

ช่องโหว่ คือ จุดอ่อนของทรัพย์สินที่ถูกภัยคุกคามใช้เป็นช่องทางในการโจมตี เช่น ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

การหลอกว่ามาดี แต่จริงๆมาร้าย เช่น หลอกให้โอนเงินช่วยเหลือ
ส่ง URL Ling เพื่อให้ผู้รับคลิกเข้าไประหว่างนั้นก็มีการแอบดักเอาข้อมูลส่วนตัวไป
ถูกสวมรอยกันง่ายๆเพียงเล่นเฟซบุค เช่น เราได้ล็อคอินค้างไว้
หลอกให้คลิกแต่แอบซ่อนมีดไว้รอเชือด
บอกเพื่อนว่าเราอยู่ไหน เสมือนหนึ่งว่าเราได้บอกโจร
ระวังข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วขณะเล่นFacebookเพลินๆ

โปรแกรมประสงค์ร้าย

มัลแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแอบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่อนุญาต
ไวรัส เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถสำเนาของตัวเองเพื่อแพร่ออกไป
หนอน มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดกระจายตัวได้เร็ว
ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง
สปายแวร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้บนคอมพิวเตอร์ และแอบดักข้อมูล

โปรแกรมป้องกันและกำจัดการคุกคาม

แอนติไวรัส จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากสปายแวร์และแฮ็คเกอร์
เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

ไฟร์วอลล์ : คือ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน

ความต้องการของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล: การรักษาความลับ การระบุตัวบุคคลได้ การรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ การป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ

1.ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตร คือ การเข้ารหัสข้อมูลด้วยกุญแจเดี่ยว
ข้อดี: การเข้ารหัสและถอดรหัสใช้เวลาน้อย

2.ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร ใช้หลักกุญแจคู่เข้ารหัสและถอดรหัส โดยกุญแจคู่จะประกอบด้วยกุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะ

ข้อดี: การจัดการกับกุญแจทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องจำเลยว่าได้ใช้กุญแจคู่ไหนกับใคร
คำแนะนำในการเลือกรหัสผ่านที่ดี: ใช้คำมากกว่า1คำเลือกใช้คำ2คำรวมกันเป็นรหัสผ่าน  ใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษรเช่น 1Ronal309 เป็นต้น  เลือกรหัสผ่านให้ผูกกับเหตุการณ์  ให้ใช้รหัสผ่านที่ยาวที่สุดเท่าที่ทำได้

สิ่งที่ไม่ควรทำในรหัสผ่าน: ไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัว  ไม่ใช้รหัสผ่านที่ผูกกับเดือนปฏิทินเช่นMayday เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น